วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

ช่องรายการ Ku-Band

จานทึบ 60 ซ.ม. (Ku-Band) 50 ช่องรายการ







ช่องรายการ C-Band

จานโปร่ง C-Band 150 ช่องรายการ












ติดต่อกับเรา แซท-คลีนิค

ขอขอบคุณในความสนใจในการต้องการติดต่อ กับเรา


1. โทรศัพท์ติดต่อ ช่างพีรพัฒน์
     086-6722700









2.  Facebook :https://www.facebook.com/phiraphatsat












3.  Line ID : sat-clinic








4. E-mail Address : phiraphatsat@gmail.com

ราคาสินค้า

จานดาวเทียม PSI




จานทึบ 60 เซนติเมตร (Ku-band) 

-จาน+กล่องรับสัญญาน Ok-X ราคา 1,900 บาท 
พร้อมติดตั้ง สายสัญญานยาวไม่เกิน 20 เมตร
รับประกันการติดตั้ง 6 เดือน
รับประกันอุปกรณ์ 12 เดือน

-จาน+กล่องรับสัญญาน O2- HD ราคา 2,900 บาท
พร้อมติดตั้ง สายสัญญานยาวไม่เกิน 20 เมตร
รับประกันการติดตั้ง 6 เดือน
รับประกัจนอุปกรณ์ 12 เดือน




จานโปร่ง ขนาด 150 เซนติเมตร (C-Band)



-จาน+กล่องรับสัญญาน Ok-X ราคา 2,900 บาท 
พร้อมติดตั้ง สายสัญญานยาวไม่เกิน 20 เมตร
รับประกันการติดตั้ง 6 เดือน
รับประกันอุปกรณ์ 12 เดือน

-จาน+กล่องรับสัญญาน O2- HD ราคา 3,900 บาท
พร้อมติดตั้ง สายสัญญานยาวไม่เกิน 20 เมตร
รับประกันการติดตั้ง 6 เดือน
รับประกันอุปกรณ์ 12 เดือน

การเพิ่มจุดรับชมเป็น หลายๆจุด ภายในบ้าน จุดละ 1,500 บาท
รวมค่าอุปกรณ์แยกสัญญาณ (Spliter)



การเพิ่มจุดรับชมเป็น หลายๆจุด ภายในบ้าน จุดละ 1,500 บาทจุดที่ 5-จุดที่ 12 เพิ่มค่าอุปกรณ์แยกสัญญานอีกจุดละ 500 บาท









ส่วนประกอบสำคัญในการติดตั้งจานดาวเทียม
คือ ช่างติดตั้งได้เลือกใช้อุุปกรณ์ที่มีคุณภาพ
การบริการหลังการขาย ที่มีประสิทธิภาพ 
เรียกใช้บริการได้ตลอดเวลา ครับ









วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ระบบจานดาวเทียม

จานดาวเทียม หรือจานรับสัญญาณดาวเทียมหมายถึง สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับการรับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ลอยอยู่ในอวกาศและส่งสัญญาณกลับลงมายังพื้นโลก โดยทั่วไปมักมีรูปทรงเป็นรูปจานโค้งแบบพาราโบลา เพื่อให้เกิดการรวมและสะท้อนสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นผิวสำหรับของจานรับสัญญาณสามารถเป็นได้ทั้งพื้นผิวแบบทึบ และพื้นผิวแบบโปร่ง ซึ่งพื้นผิวแบบทึบลมจะไม่สามารถผ่านได้จึงต้านลมมากกว่าแบบโปร่ง

ขนาดของจานรับสัญญาญดาวเทียมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองประการ
ขนาดของสัญญาณที่รับมาจากดาวเทียม ขนาดของสัญญาณรบกวน
ถ้าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณจากดาวเทียมกับสัญญาณรบกวนมีค่ามาเท่าใด ขนาดของจานก็จะเล็กมากเท่านั้น สัญญาณรบกวนมีที่มาได้ 3 ทางหลัก ๆคือสัญญาณจากฟากฟ้า
สัญญาณจากพื้นโลกที่มาจากธรรมชาติสัญญาณจากพื้นโลกที่มิใช่จากธรรมชาติ (เกิดจากมนุษย์)
โดยปกติแล้วกำลังสัญญาณจากดาวเทียมจะมีค่าต่ำมาก จึงต้องได้รับการขยายสัญญาณจากอุปกรณ์ที่เรียกว่า แอลเอ็นบี (LNB) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจานดาวเทียมหลากหลายยี่ห้อ เช่น พีเอสไอ ไอพีเอ็ม ดีทีวี จีเอ็มเอ็มแซท ไทยแซท ไอเดียแซท ลีโอเทค คิวแซท ทรูวิชั่น ซีทีเอช ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบบ Free To Air และแบบบอกรับสมาชิก

จานดาวเทียม C-band
จานดาวเทียมC-band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเซีย และยุโรปบางส่วน

ข้อดี : การใช้ดาวเทียมระบบนี้เหมาะที่จะใช้ในประเทศใหญ่ๆ เพราะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้หลายประเทศ ซึ่งใช้ดาวเทียมหนึ่งดวง ก็ถ่ายทอดสัญญาณได้ทั่วประเทศและยังถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย เช่น จีน, อินโดนีเซีย, เวียดนาม เป็นต้น

ข้อเสีย : เนื่องจากส่งครอบคลุมพื้นที่กว้างๆ ความเข็มของสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จาน 4 - 10 ฟุต ขนาดใหญ่รับสัญญาณภาพจึงจะคมชัด



     

   เคยูแบนด์ มีการใช้งานโดยทั่วไปในการสื่อสารดาวเทียม ที่สำคัญๆ คือ ดาวเทียมส่งผ่านการติดตามข้อมูล (Tracking Data Relay Satellite) ขององค์การนาซา สำหรับทั้งการติดต่อกับกระสวยอวกาศและการสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติ ดาวเทียมแบบเคยูแบนด์ยังมีการใช้งานสำหรับการส่งข้อมูลไปยังที่ห่างไกล เช่นสำหรับเครือข่ายระบบโทรทัศน์ที่ใช้ในการแก้ไขและการออกอากาศ แถบความถี่นี้ยังแบ่งออกเป็นช่วงย่อยอีกหลายช่วงแล้วแต่บริเวณทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจัดแบ่งโดยสมาพันธ์การสื่อสารสากล (International Telecommunication Union; ITU) สถานีโทรทัศน์ NBC เป็นเครือข่ายโทรทัศน์แห่งแรกที่ทำการอัพลิงก์รายการส่วนใหญ่ผ่านเคยูแบนด์ในปี ค.ศ. 1983

 ข้อดี 
 1.จานดาวเทียม ระบบ KU-BAND มีขนาดเล็กสามารถติดตั้งได้ง่ายใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย
2.สามารถติดตั้งได้สำหรับคอนโดมิเนียม หรือ อาพาร์ทเม้นท์ ที่มีเทอเรสท์ หันไปทางทิศตะวันตกหรือ        ทิศใต้
3.การเพิ่มจุดรับชมสามารถทำได้ง่ายราคาประหยัดเนื่องจากรีซีฟเวอร์ระบบ KU-band นั้นราคาไม่แพง
4.รายการช่องจะมีมาก และจะมีการผลิตช่องรายการเพิ่มอยู่ตลอดเวลา
5.สามารถชมช่องพิเศษตามของยี่ห้อดาวเทียมนั้นๆได้
6.การSERVICEทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากอะไร เนื่องจาก จานดาวเทียม มีขนาดเล็ก
7.การเคลื่อนย้าย จานดาวเทียม ทำได้ง่ายสามารถทำได้เองถ้ามีทักษะในการติดตั้ง จานดาวเทียม พอ        สมควร

ข้อเสีย 
 1.จาน ดาวเทียม ระบบKU-Band จะไม่สามารถรับชมรายการได้ในขณะที่ฝนตกหนักหรือขณะที่ท้องฟ้า       ครึมมากๆเพราะ สัญญานดาวเทียม KU-BAND ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเม็ดฝนลงมาได้
2.ถ้าอยากชมรายการพิเศษ จำเป็นต้องเสียเงินสำหรับรับชมช่องรายการพิเศษของจานดาวเทียมนั้น หรือ    ต้องเช้าจานดาวเทียมและ เติมเงินโทรศัพท์เช่นจานดาวเทียมสีแดง

วิธีการดูแลรักษาจานดาวเทียม ครับ ^^ การบำรุงรักษา
ข้อควรปฏิบัติในการบำรุงรักษาเครื่องรีซีฟเวอร์ และข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย
1. หลีกเลี่ยงการวางรีซีฟเวอร์ ในอากาศที่ร้อนหรือเย็นจัด
2. หลีกเลี่ยงการวางซีฟเวอร์ ในที่มีแสงแดดส่องถึง
3. ห้ามวางของที่บรรจุน้ำบนเครื่องรีซีฟเวอร์
4. ถ้าเครื่องรีซีฟเวอร์เสียห้ามซ่อมเอง ให้ติดต่อช่างผู้ชำนาญ
5. ขณะที่ฝนฟ้าคะนองให้ถอดปลั๊กและสายนำสัญญาณดาวเทียมออก     จากเครื่องรีซีฟเวอร์
6. เมื่อไม่ได้ใช้รีโมท เป็นเวลานาน ให้ถอดแบตเตอรรี่ออก

คำเตือน : ข้อควรระวัง!!!
เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ หรือไฟฟ้าดูดควรระวังอย่าให้เครื่องรีซีฟเวอร์โดน ละอองน้ำ หรือความเปียกชื้น ในกรณีที่เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนอง หรือไฟฟ้าดับ กรุณาถอดปลั๊ก และสายอากาศ จากตัวเครื่อง

ข้อควรปฏิบัติในการบำรุงรักษาตัวจานรับสัญญาณ
1. หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดการบิดเบี้ยว หรือเสียรูปของอุปกรณ์ เพราะจะทำให้การรับสัญญาณด้อย               ประสิทธิภาพ
2. ตรวจสอบความแข็งแรงของรากฐานของเสาที่ใช้ยึดติดกับจาน
3. ตรวจสอบจุดยึดของน็อตทุกตัว และทุกจุดว่าเกิดการคลายตัวหรือไม่ ยกเว้นน็อตยึดมุมกวาด ที่มีไว้         เพื่อให้จากซ้ายขวาได้ต้องยึดแบบไม่หลวม และไม่แน่นจนเกินไป ให้เกิดความคล่องตัว
4. ตรวจสอบเทปกันน้ำที่พันอยู่ที่ตัว LNB ว่ามีการชำรุด ฉีกขาดหรือไม่ ถ้ามีให้ทำการเปลี่ยนใหม่ให้           เรียบร้อย ก่อนทำการปิดเครื่อง Receiver
5. สำหรับจานมูฟ เมื่อเลิกการใช้งานให้ทำการมูฟจานไปที่ตำแหน่งดาวเทียม Asiasat 2 หรือ Asiasat 3s     ก่อนทำการปิดเครื่องรีซีฟเวอร์
6. สำรับจานมูฟ เมื่อมีการใช้งานได้อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ควรหยอดน้ำมันหล่อลื่น เช่น น้ำมันเครื่อง เพื่อ       ให้แอคทูเอเตอร์ (มอเตอร์) ที่ตำแหน่งน็อต 2 ตัวที่ยึดกับบาร์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวขณะมูฟ